top of page
historykkc.png

ยุคแห่งการเริ่มก่อตั้ง
คณะ ซี.เอ็ม.เอ. 1843-1929

      ซี.เอ็ม.เอ. หรือ คริสตียนและมิชชันนารีอะไลอันซ์ (Christian and Missionary Alliance)  เป็นองค์กรทางศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ที่มุ่งเน้นในการดำเนินชีวิตคริสเตียนอย่างองค์พระเยซูคริสต์เจ้าและประกาศพระกิตติคุณขององค์พระเยซูคริสต์ไปในทุกหนทุกแห่ง ได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดยศาสนาจารย์ ดร.อันเบิร์ต เบนจามิน ซิมสัน (Rev. Dr. Albert Benjamin Simpson) ผู้ที่เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 1843 ที่เกาะปรินซ์เอ็ดวาร์ด ประเทศคานาดา แต่ต่อมครอบครัวได้โยกย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และ เอ.บี.ซิมสันได้เจริญเติบโตขึ้นในประเทศนี้ ดร.ซิมสันได้บุกเบิกก่อต้องคณะ ซี.เอ็ม.เอ. ขึ้นในปี 1887 ซึ่งในระยะแรกเริ่มเป็นเพียงพันธมิตรในการส่งมิชชันนารีไปประกาศข่าวประเสริฐของพระเจ้าของเหล่าคริสตจักรในนิกายโปรเตสแตนท์เท่านั้นและได้พัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งกลายเป็นคณะในราวๆ กลางปี 1900 ศจ.ดร.เอ.บี.ซิมสัน จากไปอยู่กับพระเจ้าเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 1919 พระวจนะที่เป็นแรงบันดาลใจให้ท่านได้บุกเบิกในการประกาศพระวจนะมาจาก พระธรรมมัทธิว 24:14 “ข่าวประเสริฐเรื่องแผ่นดินของพระเจ้า จะได้ประกาศไปทั่วโลก ให้เป็นคำพยานแก่บรรดาประชาชาติ แล้วท

      ซี.เอ็ม.เอ. หรือ คริสตียนและมิชชันนารีอะไลอันซ์ (Christian and Missionary Alliance)

เป็นองค์กรทางศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ที่มุ่งเน้นในการดำเนินชีวิตคริสเตียนอย่างองค์พระเยซูคริสต์เจ้าและประกาศพระกิตติคุณขององค์พระเยซูคริสต์ไปในทุกหนทุกแห่ง ได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดยศาสนาจารย์ ดร.อันเบิร์ต เบนจามิน ซิมสัน (Rev. Dr. Albert Benjamin Simpson) ผู้ที่เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 1843 ที่เกาะปรินซ์เอ็ดวาร์ด ประเทศคานาดา แต่ต่อมครอบครัวได้โยกย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และ เอ.บี.ซิมสันได้เจริญเติบโตขึ้นในประเทศนี้ ดร.ซิมสันได้บุกเบิกก่อต้องคณะ ซี.เอ็ม.เอ. ขึ้นในปี 1887 ซึ่งในระยะแรกเริ่มเป็นเพียงพันธมิตรในการส่งมิชชันนารีไปประกาศข่าวประเสริฐของพระเจ้าของเหล่าคริสตจักรในนิกายโปรเตสแตนท์เท่านั้นและได้พัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งกลายเป็นคณะในราวๆ กลางปี 1900 ศจ.ดร.เอ.บี.ซิมสัน จากไปอยู่กับพระเจ้าเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 1919 พระวจนะที่เป็นแรงบันดาลใจให้ท่านได้บุกเบิกในการประกาศพระวจนะมาจาก พระธรรมมัทธิว 24:14 “ข่าวประเสริฐเรื่องแผ่นดินของพระเจ้า จะได้ประกาศไปทั่วโลก ให้เป็นคำพยานแก่บรรดาประชาชาติ แล้วที่สุดปลายจะมาถึง” โดยมีหัวใจสำคัญ 4 ประการเกี่ยวกับพระคริสต์ (1)ทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดพ้นความบาปผิด (2)ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงชำระเราให้บริสุทธิ์ (3)ทรงเป็นแพทย์ผู้ประเสริฐ และ(4)ทรงเป็นกษัตริย์ผู้จะเสด็จมายังโลกนี้อีกครั้งหนึ่ง คณะ ซี.เอ็ม.เอ.ได้เจริญเติบโตเรื่อยมาและได้ขยายพันธกิจไปยังประเทศต่างๆ อย่างมากมายรวมทั้งประเทศไทยซึ่งเริ่มต้นในปี 1929

ยุคแห่งการเริ่มก่อตั้ง

ยุคแห่งการบุกเบิกก่อร่างสร้างตัว
ค.ศ. 1929 – 1941

d.png

คริสตศักราช 1929

คณะ  ซี.เอ็ม.เอ (The Christian and Missionary Alliance)ได้ตัดสินใจส่งอาจารย์และแหม่มพอล  กันเธอร์

เข้ามาเพื่อทำงานรับใช้พระเจ้าที่ภาคอีสานประเทศไทยใช้เวลาเดินทาง 7 วัน  จากกรุงพนมเปญสู่จังหวัดอุบลราชธานีทางเรือ

ต่อมามิชชั่นนารีคนอื่นๆ เข้ามาสมทบอีก 49 คน  เพื่อช่วยงานรับใช้ที่ภาคอีสานแต่งานก็ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรจนกระทั่งถึงปี 1937

มีมิชชั่นนารีทั้งสิ้น 60 คน เข้ามารับใช้พระเจ้าในประเทศไทย

คริสตจักรขอนแก่น ประวัติ
ศาสนาจารย์ปีเตอร์  เอ.โวธ  และครอบครัว  ได้มารับใช้พระเจ้าที่จังหวัดขอนแก่น ริเริ่มงานคริสตจักรขอนแก่นอย่างจริงจัง  หลังจากที่เมืองขอนแก่นมีผู้รับบัพติสมาเป็นคนแรกในปีที่ผ่านมาและนี่เป็นการเริ่มต้นก่อตั้งคริสตจักรขอนแก่นในปี 1933 นี้เอง

คริสตศักราช 1932

มีคริสเตียนไทยชาวขอนแก่นรับบัพติสมาเป็นครั้งแรกและคนแรกเมื่อมีการขยายงานมาที่ขอนแก่น

คริสตศักราช 1933

ศาสนาจารย์ปีเตอร์  เอ.โวธ  และครอบครัว  ได้มารับใช้พระเจ้าที่จังหวัดขอนแก่น ริเริ่มงานคริสตจักรขอนแก่นอย่างจริงจัง 

หลังจากที่เมืองขอนแก่นมีผู้รับบัพติสมาเป็นคนแรกในปีที่ผ่านมาและนี่เป็นการเริ่มต้นก่อตั้งคริสตจักรขอนแก่นในปี 1933 นี้เอง

ศาสนาจารย์พอล  กันเธอร์และครอบครัวได้ย้ายมารับใช้พระเจ้าที่จังหวัดขอนแก่น  และได้รับช่วงงานต่อจาก  ศาสนาจารย์ปีเตอร์  เอ.โวธ  ศูนย์ศึกษาพระคริสตธรรมกลาง(Central Bible School (CBS)) หรือโรงเรียนพระคริสตธรรมกลาง  ปัจจุบัน คือ สถาบันพระคริสตธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Institute of Theology)  ย้ายจากจังหวัดนครราชสีมา  มายังจังหวัดขอนแก่น
เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 มิชชั่นนารีถูกบังคับให้เดินทางออกจากประเทศไทย  (คริสตจักรได้หยุดการนมัสการพระเจ้าไปในระยะนี้ เนื่องจากขาดผู้นำคริสตจักร)  ซึ่งขณะนั้นมีนักศึกษา 12 คน

คริสตศักราช 1936

ศาสนาจารย์พอล  กันเธอร์และครอบครัวได้ย้ายมารับใช้พระเจ้าที่จังหวัดขอนแก่น

และได้รับช่วงงานต่อจาก  ศาสนาจารย์ปีเตอร์  เอ.โวธ

ศูนย์ศึกษาพระคริสตธรรมกลาง(Central Bible School (CBS)) หรือโรงเรียนพระคริสตธรรมกลาง

ปัจจุบัน คือ สถาบันพระคริสตธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Institute of Theology)

ย้ายจากจังหวัดนครราชสีมา  มายังจังหวัดขอนแก่น

คริสตศักราช 1941

เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 มิชชั่นนารีถูกบังคับให้เดินทางออกจากประเทศไทย

(คริสตจักรได้หยุดการนมัสการพระเจ้าไปในระยะนี้ เนื่องจากขาดผู้นำคริสตจักร)

ซึ่งขณะนั้นมีนักศึกษา 12 คน

ยุคแห่งการบุกเบิกก่อร่างสร้างตัว

ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 
ค.ศ. 1941 – 1971

คริสตศักราช 1946

สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง และมิชชั่นนารีได้เดินทางกลับมารับใช้พระเจ้าที่ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง

มีการซื้อที่ดินและเปิดโรงเรียนพระคริสตธรรมอีกครั้งหนึ่ง โดยมีศาสนาจารย์ที.จี. ซีเมอร์เป็นผู้อำนวยการ

ได้รื้อฟื้นการนมัสการของกลุ่มคริสเตียนอีกครั้งหนึ่ง โดยมีศาสนาจารย์ชะโลม เลี่ยมเพชรรัตน์

เป็นนักเทศน์ประจำโดยใช้ห้องประชุมของโรงเรียนพระคริสตธรรมกลางเป็นที่ประชุมนมัสการพระเจ้า

มีการรวบรวมคริสตจักรที่ก่อตั้งโดย ซี.เอ็ม.เอ. ก่อตั้งเป็นสภาคริสตจักรพระกิตติคุณแห่งประเทศไทยขึ้น

ทั้งนี้มีศาสนาจารย์ชโลม เลี่ยมเพ็ชรรัตน์ นับว่าเป็นศิษยาภิบาลคนที่ 3 ของคริสตจักรขอนแก่น และเป็นคนแรกที่เป็นคนไทย

 

คริสตศักราช 1954-1967

ได้มีการสถาปนาคริสตจักรขอนแก่นอย่างเป็นทางการอีกครั้งภายหลังที่ได้หยุดไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

โดยมีศาสนาจารย์ซีเมอร์ และภรรยามาร่วมรับใช้พระเจ้าในคริสตจักรขอนแก่นด้วย

 

คริสตศักราช 1957

ศาสนาจารย์ปีเตอร์  เอ. โวธ   ได้กลับมารับพระเจ้ากับคริสตจักรขอนแก่นอีกครั้งหนึ่ง 

แทนศาสนาจารย์ซีเมอร์ ขณะที่ไปพักผ่อนที่ต่างประเทศ

 

คริสตศักราช 1951-1963

ศาสนาจารย์เพอร์กินส์  ได้มารับใช้พระเจ้ากับทางคริสตจักรขอนแก่น

แทนศาสนาจารย์ซีเมอร์  ขณะที่ไปพักผ่อนที่ต่างประเทศ

 

คริสตศักราช 1967

ศาสนาจารย์เดรกเกอร์  ได้มารับใช้พระเจ้าที่คริสตจักรขอนแก่น 

และได้ริเริ่มโครงการที่จะสร้างโบสถ์ในที่ดินที่ติดกับถนนเทพารักษ์ในปัจจุบันนี้

 

คริสตศักราช 1969

ศาสนาจารย์เจริญและแหม่มเจริญ (ยอร์จ เฮ็คเคนดรอฟ) 

ได้มาร่วมงานกับคริสตจักรขอนแก่นและได้เริ่มโครงการสร้างอาคารโบสถ์หลังปัจจุบันจนแล้วเสร็จในปี 1971

 

คริสตศักราช 1971

เมื่อ  28  มีนาคม  1971  ได้มีการฉลอง และใช้โบสถ์หลังใหม่และย้ายสถานที่ประชุม

จากโรงเรียนพระคริสตธรรมมายังที่ปัจจุบันนี้ (236/2 ถ.เทพารัษ์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000)

ยุคหลังสงคราม

ยุคแห่งการพัฒนา และฟื้นฟู 
ค.ศ. 1978 – 1995

คริสตศักราช 1978

ศาสนาจารย์สง่า บุญมา เริ่มเข้ารับตำแหน่งศิษยาภิบาลของคริสตจักรขอนแก่น

 

คริสตศักราช 1979

เริ่มก่อตั้งคริสตจักรลูกแห่งที่  1   ขึ้นที่บ้านเป็ด 

และได้มีการสถาปนาให้เป็นคริสตจักรอย่างเป็นทางการ

เมื่อ  10  พฤษภาคม  1987

 

คริสตศักราช 1981

ได้จดทะเบียนเข้าเป็นสมาชิกสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย 

ลำดับที่  183(เลขที่ 165/9.8.90)

 

คริสตศักราช 1982

เปิดคริสตจักรลูกแห่งที่  2  ขึ้นที่บ้านโคกข่า  ต.เสื่อเฒ่า  อ.เชียงยืน  จ.มหาสารคาม 

และคริสตจักรในอำเภอเชียงยืน   เป็นแห่งที่  3

 

คริสตศักราช 1983

เปิดคริสตจักลูกแห่งที่  4  ขึ้นที่  อำเภอชุมแพ  จังหวัดขอนแก่น

 

คริสตศักราช 1989

ริเริ่มการจัดค่ายครอบครัวเป็นครั้งแรก

 

คริสตศักราช 1992

ได้จดทะเบียบรวบรวมคริสตจักรลูกเข้าอยู่ในองค์การสหพันธ์การเสริมสร้างคริสตจักรภาคอีสาน 

กับองค์การสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย  ซึ่งเป็นองค์การใหญ่ทางศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนท์ เลขที่ 118/06.10.02

 

คริสตศักราช 1995

เกิดภาวะวิกฤติผู้นำในคริสตจักร  ที่ต้องทำให้มีการปรับปรุงคริสตจักร 

ทั้งนี้คณะธรรมกิจของคริสจักรขอนแก่นดูแลรักษาการศิษยาภิบาลไปพลางๆ ก่อนโดย ผป.เฉลิมชัย จิตตะยโศธรเป็นประธานของคริสตจักร

และผป.มานะ ศรีสูงเนิน เป็นประธานผู้ดูแลงานสหพันธ์การเสริมสร้างคริสตจักรภาคอีสาน

ยุคแห่งการพัฒนาและฟื้นฟู

ยุคแห่งการก้าวหน้าพัฒนา
และก้าวสู่สหัสวรรษใหม่
ค.ศ. 1996 – ปัจจุบัน

คริสตศักราช 1996

ศจ.ดร.วัฒนา  พรหมโคตรเข้ารับตำแหน่งศิษยาภิบาลของคริสตจักรขอนแก่นตามคำเชิญของทางคริสตจักรขอนแก่น

จัดฉลองครบรอบ  25  ปี  ของอาคารโบสถ์หลังปัจจุบัน  โดยมี  มน.ไพศาล  เวียงคำ(ปัจจุบันได้รับการสถาปนาให้เป็นผู้ปกครองในปี 2002) 

 

คริสตศักราช 1997

ริเริ่มโครงการก่อสร้างอาคารนมัสการหลังใหม่  ความจุ  500  ที่นั่ง 

และได้เริ่มออกแบบแปลนในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ 

มีการก่อสร้างบ่อรับศีลบัพติสมาในน้ำของคริสจักร

 

คริสตศักราช 1998

เปิดคริสตจักรศิลาเป็นคริสตจักรลูกอย่างเป็นทางการ  แห่งที่  5 (ภายใต้การดูแลของคริสตจักรบ้านเป็ด)

 

คริสตศักราช 1999

เปิดคริสตจักรพระกรุณาโกสุมพิสัย  เป็นคริสจักรลูกอีกแห่งที่  6 (ภายใต้การดูแลของคริสตจักรเชียงยืน)

 

คริสตศักราช 2000

เปิดสถานประกาศพระพรพยัคฆภูมิพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม 

เป็นคริสตจักรลูกแห่งที่  7 (ภายใต้การดูแลของคริสตจักรเชียงยืน)

เริ่มโครงการเปิดคริสตจักรแห่งใหม่ที่   จังหวัดอุดรธานี   

โดยการออกอธิษฐานเผื่อ  ประกาศแจกใบปลิวและตั้งกลุ่มเซล

 

คริสตศักราช 1997-2000

สร้างอาคารรวีฯ , สถานนมัสการเด็ก, บ่อรับบัพติศมา และอื่นๆ

 

คริสตศักราช 2001

ได้มีการปรับปรุงอาคารสถานที่  และดำเนินการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในอาคารโบสถ์หลังปัจจุบัน

 

คริสตศักราช 2002

ได้มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าของคริสตจักรเป็นระบบไทย 3 เฟส

 

คริสตศักราช 2003

ได้ปรับปรุงให้มีการนมัสการ 3 รอบ และคริสตจักรเข้าร่วมการประกาศกับ ศจ.ดร.ที แอล อสสบอร์น

โดยศิษยาภิบาลของคริสตจักรเป็นประธานจัดงาน

 

คริสตศักราช 2004

เปิดคริสตจักรลูกแห่งที่ 8 ที่จังหวัดอุดรธานี ชื่อคริสตจักรอุดรธานี

(Udon Thani Church)

 

คริสตศักราช 2005

เปิดคริสตจักรลูก(คริสตจักรเครือข่าย) 2 แห่ง แห่งที่ 9 คริสตจักรเมืองมหาสารคาม

แห่งที่ 10 คริสตจักรศรีบุญเรือง ซึ่งรับผิดชอบโดยคริสตจักรชุมแพ

มีการปรับปรุงเปลี่ยนหลังคาโบสถ์ใหม่ และปรับปรุงฟื้นโบสถ์โดยการปูกระเบื้อง

คริสตจักรลูกได้แยกออกไปบริหารจัดการเป็นอิสระ และได้ย้ายสำนักงานสหพันธ์การเสริมสร้างคริสตจักรภาคอีสานไปอยู่ที่คริสตจักรบ้านเป็ด

โดยคริสตจักรอุดรธานี และคริสตจักรเมืองมหาสารคามยังคงอยู่ร่วมกับคริสตจักรขอนแก่นต่อไปตามเดิม

ยุคแห่งการก้าวหน้า

บรรณานุกรม

            จักรพันธ์  ชูเกียรติวงศ์,  ประวัติย่อสภาคริสตจักรพระกิตติคุณแห่งประเทศไทย, 2001

            เจริญ  เฮ็คเค็นดรอฟ, สถิติและข้อมูลของสำนักงาน  ซี.เอ็ม.เอ.มิชชั่น ที่จังหวัดขอนแก่น, 1981

            เจริญ  เฮ็คเค็นดรอฟ, ประวัติของบคริสตจักรขอนแก่น, 1988

            วัฒนา  พรหมโคตร, คำสัมภาษณ์  ศจ.ถนอม เศรษฐพรหมรินทร์, 2002

            วัฒนา  พรหมโคตร, คำสัมภาษณ์  ศจ.สุดชา   บุญมา, 2002

            สง่า   บุญมา, ประวัติและงานของคริสตจักรขอนแก่น, 1990

            ไม่ทราบผู้แต่ง, ย่อประวัติและงานของคริสตศาสนาในจังหวัดขอนแก่น ?

            Ford, Norman, Overview  of  the  CMA  work  in  Thailand, 2001.

            Heckendorf, George, Missionary   Involvement  in  Pubic  Health  in  Khonkaen  Province, ?

Heckendorf, George, Khonkaen   City    Annual   Report 1967, 1967

Heckendorf, George, Khonkaen   City   Annual   Report 1968, 1968

ชื่อศิษยาภิบาล
ปีที่ดำรงตำแหน่ง
จำนวนปี
ศจ. ดร.วัฒนา พรหมโคตร
1996 – ปัจจุบัน
20
ศจ.สง่า บุญมา
1978 – 1995
18
อ.สำราญ สรสันต์
1977 – 1978 (รักษาการ)
2
ศจ.สัมฤทธิ์ เลี่ยมเพชรรัตน์
1957 (ครั้งที่ 1)
1
ศจ.สัมฤทธิ์ เลี่ยมเพชรรัตน์
1969-1975 (ครั้งที่ 2)
1
ผป.ทอง เรืองชาญ
1965 – 1966
7
ศจ.ดร.สมดี ภูสอดสี
1966 – 1967
2
ศจ.บุญมา พันธศรี
1968
2
ศจ.วิเชียร แจ้งบ้าน
1976 (รักษาการ)
1
ศจ.ถนอม เศรษฐพรหมรินทร์
1958-1967 (ครั้งที่ 2)
10
ศจ.ถนอม เศรษฐพรหมรินทร์
1951-1956 (ครั้งที่ 1)
6
ศจ.ชะโลม เลี่ยมเพชรรัตน์
1946-1950
5
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
1941-1946
6
ศจ.พอล กันเธอร์
1936-1941
6
ศจ.ปีเตอร์ เอโวธ
1933-1936
4
ศบ.
bottom of page